Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)


ซินโดรม หรือโรคอ้วนลงพุง คือ กลุ่มของปัจจัยเสี่ยงประกอบด้วยโรคอ้วนลงพุง (ไขมันในช่องท้องมากเกิน) ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และระดับไขมันในเลือดสูง ที่จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด


ไขมันในช่องท้องมากเกิน เป็นฆาตกรเงียบที่คุณคาดไม่ถึง คนที่อ้วนลงพุงจะมีไขมันสะสมในช่องท้อง ปริมาณมาก ยิ่งรอบพุงมากเท่าไหร่ ไขมันยิ่งสะสมในช่องท้องมากเท่านั้น ไขมันที่สะสมนี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดเป็น "ภาวะอ้วนลงพุง" ซึ่งเป็นเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โดยเอวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ซม. จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน 3-5 เท่า 


โรคอ้วนลงพุง-Metabolic-Syndrome thai-herbs.thdata.co | โรคอ้วนลงพุง-Metabolic-Syndrome สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดังนั้น ยิ่งพุงใหญ่เท่าไหร่ ยิ่งตายเร็วเท่านั้น"


กลุ่มของปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนลงพุง (เมตะบอลิก ซินโดรม)

ผู้ชายวัดรอบเอวได้มากกว่า 90 ซม. และผู้หญิงวัดรอบเอวได้มากกว่า 80 ซม. บวกกับมีปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 อย่างต่อไปนี้

  1. ความดันโลหิตสูง 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป.

  2. น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป

  3. ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป

  4. ระดับไขมันเอชดีแอลคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับผู้ชาย

  5. และน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับผู้หญิง


ไขมันในช่องท้องมาก อันตรายอย่างไร

ไขมันในช่องท้องกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน


(ความดื้อต่ออินซูลิน คือ การเปลี่ยนแปลงของ DNA ภายในเซลล์ ทำให้เซลล์สนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินน้อยกว่าที่ควร ถ้าเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินที่ตับ ทำให้ตับไม่สามารถยับยั้งการสร้างกลูโคสได้ (ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง)


และถ้าเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินที่เซลล์ไขมันทำให้เซลล์ไขมันไม่สามารถยับยั้งการสลายตัวได้ เกิดกรดไขมันอิสระได้ง่าย (ส่งผลให้มีไขมันไปสะสมยังกล้ามเนื้อและตับเพิ่มขึ้น ทำให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินแย่ลง) มีผลทำให้เบต้าเซลล์ของตับอ่อนตาย และนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวาน


ผลเสียของการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน


โรคอ้วนลงพุง-Metabolic-Syndrome thai-herbs.thdata.co | โรคอ้วนลงพุง-Metabolic-Syndrome สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


  1. ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง การที่น้ำตาลในเลือดสูงจะช่วยเร่งให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดเร็วขึ้น เพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น 2-3 เท่าตัว

  2. ทำให้ผนังหลอดเลือดทำงานผิดปกติ หลอดเลือดยืดหยุ่นน้อยลงเป็นสาเหตุทำให้เกิดความดันโลหิตสูง การอักเสบของหลอดเลือด และโรคเบาหวาน

  3. ลดประสิทธิภาพของร่างกายในการละลายเลือดที่แข็งตัว เป็นที่มาของภาวะหลอดเลือดตีบตัน

  4. ทำให้เกิดผลึกไขมัน ( Plaque ) ที่หลอดเลือดเร็วขึ้น นำไปสู่การเกิดหลอดเลือดตีบตันเร็วขึ้น

  5. ทำให้ระดับอินซูลินในเลือดสูง จึงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติ คนอ้วนแทบทุกคนมีระดับอินซูลินในเลือดสูง


ผลการวิจัยในอเมริกา ปี พ.ศ.2545 พบว่า

คนอ้วนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้ออกกำลังกายทุกวันด้วย การเดิน 30 นาทีต่อวัน (5 วันต่อสัปดาห์) และรับประทานอาหารไขมันต่ำ เป็นผลให้น้ำหนักลดลงไปได้ร้อยละ 5 ถึง 7 ของน้ำหนักตัวเมื่อเริ่มต้น และได้ติดตามดูเป็นระยะเวลา 4 ปี พบว่า อัตราการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มบุคคลที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดลงถึง ร้อยละ 5-10 และไขมันในช่องท้องลดได้ร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่ดำเนินชีวิตตามปกติ


โรคอ้วนลงพุงหรือ Metabolic syndrome เป็นภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะส่วนเอวและทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ Metabolic syndrome คำนี้เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้การอย่างแพร่หลาย ภาวะนี้หมายถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคนี้สมัยก่อนเรียกว่า Syndrome X, insulin resistance syndrome


เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome

จะต้องเป็นอ้วนชนิดลงพุง กล่าวคือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. 80 ซม.ในชายและหญิงตามลำดับ และมีภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ


ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 ,ผู้ที่ได้รับยารักษาความดันโลหิต ระดับ Triglyceride >150 mg% ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน ระดับ HDL > 40,50 mg%สำหรับชายและหญิง ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน ระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 mg% หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2


พบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่ม 3 เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่ม 24 เท่า


คนกลุ่มใดที่มักจะเป็น Metabolic syndrome

  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน

  • ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงและมีระดับอินซูลินในเลือดสูง

  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ


สาเหตุของโรค Metabolic syndrome

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบแต่น่าจะเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน

  • พันธุกรรม - การเกิดภาวะนี้ขึ้กับพันธุกรรมของแต่ละประเทศ และเชื้อชาติทำให้ระดับอ้วนลงพุ่งไม่เท่ากัน ขึ้นกับการวิจัยของแต่ละประเทศว่าค่าเส้นรอบเอวควรจะเป็นเท่าใด

  • อาหารที่เรารับประทาน

  • พฤติกรรมการดำรงชีวิต


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

  • อายุ พบว่าอายุมากมีโอกาสเป็นสูง ผู้ที่มีอายุ 20พบภาวะนี้เพียง 10% คนที่อายุ 60 มีอัตราการเกิดร้อยละ 40

  • เชื้อชาติ คนผิวดำจะมีโอกาสมากกว่าปกติ

  • คนอ้วนจะมีโอกาสมากกว่คนผอม

  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัว เป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคสูง

  • โรคอื่นๆ เช่นความดันโลหิต


ภาวะนี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบจึงเกิดโรคหัวใจได้ง่าย

  • ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง

  • ไขมัน triglycerideที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดตีบ

  • เลือดจะแข็งตัวได้ง่ายทำให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหรือหัวใจ

  • เป็นโรคเบาหวานได้ง่าย


การรักษา

เมื่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มโรค Metabolic Syndrome จะต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคเบาหวาน และจะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอื่นด้วย

  • การรักษาโดยการปรับพฤติกรรม

    • การออกกำลังกาย วันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 5 วันจะลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

    • การรับประทานอาหารสุขภาพ ลดอาหารไขมันลง และรับอาหารพวกแป้งไม่เกินร้อยละ 50 ของอาหารที่รับประทาน ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่นอาหารธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก ถั่ว ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปามล์ งดกระทิ

    • ลดน้ำหนัก จากการศึกษาของประเทศฟินแลนด์และอเมริกาพบว่าการลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนัก จะชลอหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน

    • ลดสุรา

  • การรักษาโดยการใช้ยาเมื่อปรับปรุงพฤติกรรมแล้วปรากฎว่ายังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันหรือความดันโลหิตได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาในการควบคุม


การรักษาไขมันในเลือด

เป้าหมาย

  • ลดระดับไขมัน Triglyceride

  • เพิ่มระดับไขมัน HDL

  • ลดระดับไขมัน LDL

ยาที่ใช้รักษา

Fibrate (PPAR alpha agonists)จะลดไขมันและความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

Statin ใช้ลดไขมันโดยเฉพาะ ApoB-containing lipoproteins และมีรายงานว่าลดอุบัติการของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

***การใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากยา


การรักษาความดันโลหิต


โรคอ้วนลงพุง-Metabolic-Syndrome thai-herbs.thdata.co | โรคอ้วนลงพุง-Metabolic-Syndrome สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ควรจะเริ่มรักษาเมื่อความดันโลหิต เท่ากับ 140/90 มม.ปรอท

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรจะเริ่มรักษาเมื่อความดันโลหิต 130/80 มม.ปรอท

ยาที่ใช้รักษา

เชื่อว่ายาในกลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors[เช่น enarapril,perindopril ]and angiotensin receptor blockers[cozaar,valsartane ] จะช่วยลดโรคแทรกซ้อน แต่จากหลักฐานปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากยาลดความดันโลหิตมากกว่า


อ้างอิง: โรงพยาบาลวิภาวดี



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง