Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ปวดหลัง ปวดเอว “หมอนรองกระดูกทับเส้น” หรือไม่ ?


อาการปวดหลังมักเป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ในทุกเพศทุกวัย ในเด็กหรือวัยรุ่นที่เล่นกีฬาอย่างหนัก เช่น นักกีฬายกน้ำหนัก หรือนักยิมนาสติ แต่พบมากในกลุ่มคนวัยทำงานไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากหลายๆ ปัจจัย อาทิ เกิดจาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ, การเสื่อมสภาพตามอายุและการใช้งาน, ความผิดปกติแต่กำเนิด, มะเร็งและเนื้องอกต่างๆ การติดเชื้อ ซึ่งอาการปวดหลังที่หลายๆ คนสงสัยคือ อาการปวดหลังลักษณะใดที่อันตราย และอาการปวดหลังแบบใดที่สามารถหายได้เอง


ปวดหลัง-ปวดเอว-หมอนรองกระดูกทับเส้น thai-herbs.thdata.co | ปวดหลัง-ปวดเอว-หมอนรองกระดูกทับเส้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ โรคที่เกิดจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูก การเคลื่อนในที่นี้ยังหมายรวมถึงการแตกของหมอนรองกระดูก, การปลิ้นออกมาของหมอนรองกระดูก หากหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาแต่ไม่ได้กดทับรากประสาท จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเพียงอย่างเดียว มีลักษณะอาการปวดแบบเฉพาะที่ เช่น ปวดคอ ปวดเอว ปวดหลัง ปวดสะโพก แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการปลิ้นของหมอนรองกระดูกแล้ว เคลื่อนกดทับรากประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างมากคือ มีอาการปวดขาร่วมกับมีอาการชา และอ่อนแรงได้ โดยเฉพาะบริเวณเท้า และข้อเท้าจะมีอาการอ่อนแรงได้และมักเป็นที่ขาข้างเดียว


ปวดหลังลักษณะนี้ สงสัยได้เลยเสี่ยง “หมอนรองกระดูกทับเส้น”

  • มีอาการปวดของกล้ามเนื้อหลัง ตรงบริเวณกลางหลังหรือปวดเอวด้านล่าง สาเหตุมักเกิดจากการยกของ ออกกำลัง หรือนั่งนานๆ
  • หากกดตามแนวกล้ามเนื้อจะรู้สึกเจ็บลึกๆ
  • ปวดเอว ปวดหลังส่วนล่าง และปวดสะโพก หรือกระเบนเหน็บ และมักจะปวดร้าวลงไปที่ต้นขาด้านหลัง
  • อาจมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย
  • เวลา ไอ จาม หรือเบ่ง จะยิ่งปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดลึก เนื่องจากเกิดแรงดันในไขสันหลัง

 

แนวทางตรวจวินิจฉัยโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”

เมื่อพบว่าตนเองมีอาการปวดหลังที่ผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด โดยส่วนใหญ่แพท์จะเริ่มวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วยสอบถามถึงอาการปวด ระยะเวลาในการปวด และช่วงเวลาที่ปวด เช็คประวัติตรวจร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการปวดแบบเฉียบพลันทันที เช่น ปวดหลังรุนแรงจาก อุบัติเหตุกระแทก หกล้ม ยกของหนัก ยืด หรือเอี้ยวตัวแล้วรู้สึกปวดหลังทันที และปวดมากขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปวดร้าวลงขา เมื่อแพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว มีอาการต้องสงสัยเกี่ยวกับอาการปวดหลังที่อันตราย มักจะสั่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมในส่วนของห้องปฎิบัติการเช่น การตรวจแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI ซึ่งวิธีการตรวจนี้จะทำให้มองเห็นพยาธิสภาพได้ชัดเจนว่ามีหมอนรองกระดูกเคลื่อนเบียดรากประสาทมากน้อยแค่ไหนซึ่งจะช่วยแพทย์ได้ดีมากในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม


แนวทางการรักษาอาการปวดหลัง “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย ระยะเริ่มแรกและเข้ารับการรักษาทันที่โดยทั่วไปจะสามารถหายได้เอง เพียงแค่รับประทานยา เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ซึ่งจช่วยลดอาการบวมของรากประสาทที่ถูกกดทับ และปฎิบัติตัวอย่างเหมาะสมเพื่อฟื้นฟูร่างกาย เช่น การนอนพัก และลดการเคลื่อนไหวเพื่อให้รากประสาทที่บวมค่อยๆ ยุบ นอกจากอาจจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดและการประคบร้อนร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและลดอาการปวดได้อีกทางหนึ่ง และอาการปวดจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ในรายที่ปลอยไว้นาน และมีอาการปวดเรื้อรัง อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา


ปวดหลัง-ปวดเอว-หมอนรองกระดูกทับเส้น thai-herbs.thdata.co | ปวดหลัง-ปวดเอว-หมอนรองกระดูกทับเส้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

เทคโนโลยีผ่าตัดแผลเล็กรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ปัจจุบันนี้การผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทพัฒนาไปมากขึ้น แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงกว่าเดิม ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope โดยที่แพทย์สามารถใส่เครื่องมือ ผ่าตัดผ่านกล้องเข้าไปหยิบหมอนรองกระดูกที่แตกออกได้โดยตรง ส่งผลให้แผลผ่าตัดเล็กลง ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยลง อีกทั้งผลการรักษายังมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็ว ลดระยะการพักฟื้น การนอนโรงพยาบาลน้อยลง และกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น


หลังการผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนอกจากทำกายภาพเพื่อฟื้นฟูร่างกายตามที่แพทย์แนะนำแล้วยังจำเป็นต้องอบรมเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองตัวให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง เดิน ยืน นอน การลุกจากที่นั่งท่านั่งขับรถ การยกของให้ถูกต้องโดยเฉพาะของหนัก เป็นต้น และที่สำคัญคือต้องเลิกสูบบุหรี่ และหมั่นออกกำลังเพื่อฟื้นสภาพของกล้ามเนื้อ นับเป็นตัวช่วยให้ผู้ป่วยไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก


อ้างอิง: ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง