Select your language TH EN
การแพทย์จีน ประวัติการแพทย์จีน  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ




2. ยุคราชวงศ์เซี่ย (Xia Dynasty) ถึงยุคชุนชิว (Chunqiu) (2,100 - 476 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ตามหลักฐานทางโบราณคดี คนจีนรู้จักทำเหล้าตั้งแต่กลางยุคหินใหม่ ในยุควัฒนธรรมหยางเสา (ราว 4,000 - 10,000 ปีมาแล้ว การรู้จักการทำเหล้ามีผลต่อการแพทย์ คือ การนำมาใช้ในการทำยา โดยเฉพาะยาดองเหล้าต่างๆ ในยุคนี้เริ่มมีการทำยาต้มโดยมีการผลิตภาชนะสำหรับต้มยา 

ยาต้มเป็นจุดเด่นของการแพทย์แผนจีน เพราะมีประโยชน์สำคัญ 4 ประการ คือ

1) สะดวกต่อการรับประทาน และทำให้ดูดซึมง่าย

2) เพิ่มสรรพคุณ ลดพิษ และผลข้างเคียง

3) สะดวกในการปรับขนาดตัวยาต่างๆ

4) ทำให้การนำแร่ธาตุต่าง ๆ มาประกอบยาได้ง่ายขึ้น

การรู้จักทำยาต้มทำให้การแพทย์จีนพัฒนาแนวทางการใช้ยาผสมมาอย่างต่อเนื่อง อิทธิพลของพ่อมดหมอผีเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ยุคนี้ ดังจะเห็นได้จากในยุคชุนชิว พ่อมดหมอผีถูกจัดให้อยู่ในฝ่ายพิธีกรรม (Minister in Charge of Protocol) ในขณะที่แพทย์ขึ้นต่ออัครมหาเสนาบดี (Prime Minister)


2.-ยุคราชวงศ์เซี่ย-(Xia-Dynasty)-ถึงยุคชุนชิว-(Chunqiu) (2,100-ถึง-476-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช) thai-herbs.thdata.co | 2.-ยุคราชวงศ์เซี่ย-(Xia-Dynasty)-ถึงยุคชุนชิว-(Chunqiu) (2,100-ถึง-476-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช) สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

พ่อมดหมอผีในฝ่ายพิธีกรรม


สมัยราชวงศ์โจว แพทย์หลวงในยุคนั้นแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ โภชนากร แพทย์ทั่วไป ศัลยแพทย์ และสัตวแพทย์ 

นอกจากนี้ ยังพบเอกสารโบราณชื่อ ซานไห่จิง (คู่มือภูเขาและแม่น้ำ) ซึ่งเนื้อหาหลักเป็นเรื่องทางภูมิศาสตร์ แต่ได้กล่าวถึงยาสมุนไพรไว้ราว 120 ชนิด ทั้งจากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ


2.-ยุคราชวงศ์เซี่ย-(Xia-Dynasty)-ถึงยุคชุนชิว-(Chunqiu) (2,100-ถึง-476-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช) thai-herbs.thdata.co | 2.-ยุคราชวงศ์เซี่ย-(Xia-Dynasty)-ถึงยุคชุนชิว-(Chunqiu) (2,100-ถึง-476-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช) สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ซานไห่จิง (คู่มือภูเขาและแม่น้ำ)


2.-ยุคราชวงศ์เซี่ย-(Xia-Dynasty)-ถึงยุคชุนชิว-(Chunqiu) (2,100-ถึง-476-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช) thai-herbs.thdata.co | 2.-ยุคราชวงศ์เซี่ย-(Xia-Dynasty)-ถึงยุคชุนชิว-(Chunqiu) (2,100-ถึง-476-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช) สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ซานไห่จิง (คู่มือภูเขาและแม่น้ำ)



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล