Select your language TH EN
การแพทย์จีน ประวัติการแพทย์จีน  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



 

3. ยุคก่อกำเนิดทฤษฎีการแพทย์จีน (Origin of Traditional Chines Medicine Theory) จากยุคจั้นกั๋ว (ยุครณรัฐ) ถึงยุคสามก๊ก (San Guo) (475 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 265)

เป็นยุคเริ่มอารยธรรมสำคัญ ในยุคจั้นกั๋วมีการใช้วัว ควาย ปุ๋ย และอุปกรณ์ที่ทำจากเหล็ก ในการทำเกษตรกรรม มีการประดิษฐ์เครื่องวัดแผ่นดินไหว และที่สำคัญคือการทำกระดาษ เป็นยุคกำเนิดลัทธิขงจื่อและลัทธิเต๋า รวมทั้งเริ่มเส้นทางสายไหม

สำหรับอารยธรรมทางการแพทย์ พบตำราการแพทย์เขียนบนผ้าไหมและไม้ไผ่ จากสุสานหม่าหวางตุยแห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งมีรายละเอียด คือ

ตำราบนผืนผ้าไหม มีถึง 10 เล่ม

1) ห้าสิบสองโรคและตำรับยา

2) ตำรารักษาสุขภาพ

3) ตำรารักษาเบ็ดเตล็ด

 4) ภาพการบริหารลมหายใจ

5) ตำราโรคทางสูติกรรม

6)  กุญแจช่วยย่อยและเสริมสุขภาพ

7) ลักษณะชีพจรในผู้ป่วยหนัก

8)  การคลำชีพจร

 9) ตำราดั้งเดิมเรื่องการรมยาบนเส้นลมปราณ 12 เส้น บนแขนขา

 10) ตำราดั้งเดิมเรื่อง 12 เส้นลมปราณสำหรับรมยา

หนังสือบนซีกไม้ไผ่ มีจำนวนทั้งสิ้น 200 ชิ้น มีเนื้อหาประกอบด้วยตำรา 4 เล่ม

1) สิบคำถาม

2) ประสานอินหยาง

3) ตำรายาต่าง ๆ และข้อห้ามใช้

4) หลักการบริหารประเทศ

ตำรา 4 เล่มนี้ ประกอบด้วยตัวอักษร 4,000 ตัว สรุปหลักการสำหรับสุขภาพและการรักษาโรค 4 ประการ

1) ให้ปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ 4 ฤดูกาล และหลักอินหยาง โดยมีสองสิ่งที่ตรงข้ามกันในธรรมชาติคือ หญิงเป็นฝ่ายลบ และชายเป็นฝ่ายบวก

2) ให้ความสำคัญกับอาหารและการรับประทานให้เป็นเวลา ควบคุมอารมณ์ทั้งความสนุกสนานความโกรธ ความเศร้าเสียใจ และความสุข

3) บริหารร่างกายโดยชี่กง

4) ปรับและควบคุมกิจกรรมทางเพศ

ในยุคนี้มีคัมภีร์ทางการแพทย์ที่สำคัญ 3 เล่ม ได้แก่

1) คัมภีร์หวงตี้เน่ย์จิง หรือ เน่ย์จิง แบ่งเป็น 2 ภาค คือ ซู่เวิ่น หรือ Plain Questions หรือ คำถามง่าย ๆ และ หลิงซู หรือ Miraculous Pivot หรือ "แกนมหัศจรรย์" เชื่อว่าเป็นผลงานของปราชญ์หลายคนในยุคจั้นกั๋ว แต่ตั้งชื่อว่าเป็นคัมภีร์หวงตี้เน่ย์จิงตามประเพณี และเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของตำรา เนื้อหามีทั้งสิ้น 81 เรื่อง กล่าวถึง การเรียนวิชาแพทย์ จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ หลักพื้นฐานเรื่องอิน-หยางและธาตุทั้งห้า หรือ อู่สิง คือ ไม้ ไฟ ดิน ทอง และน้ำ ตลอดจนหลักธรรมชาติ 6 ประการ คือ การป้องกันและการรักษา สาเหตุและอาการของโรค ผลของฤดูกาล ผลของภูมิศาสตร์ ผลจากอุตุนิยม การฝังเข็มและการรมยา


3. -ยุคก่อกำเนิดทฤษฎีการแพทย์จีน-(Origin-of-Traditional-Chines-Medicine-Theory)-จากยุคจั้นกั๋ว-(ยุครณรัฐ)-ถึงยุคสามก๊ก-(San-Guo)-(475-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช-ถึง-ค.ศ.-265) thai-herbs.thdata.co | 3. -ยุคก่อกำเนิดทฤษฎีการแพทย์จีน-(Origin-of-Traditional-Chines-Medicine-Theory)-จากยุคจั้นกั๋ว-(ยุครณรัฐ)-ถึงยุคสามก๊ก-(San-Guo)-(475-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช-ถึง-ค.ศ.-265) สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

คัมภีร์หวงตี้เน่ย์จิง หรือ เน่ย์จิง


นอกจากนี้ยังกล่าวถึงหลักการวินิจฉัยโรค 4 ประการ คือ การสังเกต การฟังและการดม การถาม และการคลำและจับชีพจร 

ความสำเร็จของคัมภีร์เน่ย์จิง เกิดจากสาระสำคัญสรุปได้ คือ

- ทฤษฎีอินหยาง และธาตุทั้งห้า

- แนวคิดองค์รวม

- แนวคิดเรื่องอวัยวะ เส้นทางการทำงานของอวัยวะ และเส้นทางคู่ขนาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของวิชาฝังเข็ม และรมยา 

- แนวคิดเรื่องการป้องกันโรค

- การปฏิเสธสิ่งลี้ลับและหมอผี คัมภีร์หวงตี้เน่ย์จิง ภาคหลิงซู กล่าวไว้ชัดเจนว่าโรคเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ และไม่มีเลยที่เกิดจากเทวดาหรือผี

3. -ยุคก่อกำเนิดทฤษฎีการแพทย์จีน-(Origin-of-Traditional-Chines-Medicine-Theory)-จากยุคจั้นกั๋ว-(ยุครณรัฐ)-ถึงยุคสามก๊ก-(San-Guo)-(475-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช-ถึง-ค.ศ.-265) thai-herbs.thdata.co | 3. -ยุคก่อกำเนิดทฤษฎีการแพทย์จีน-(Origin-of-Traditional-Chines-Medicine-Theory)-จากยุคจั้นกั๋ว-(ยุครณรัฐ)-ถึงยุคสามก๊ก-(San-Guo)-(475-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช-ถึง-ค.ศ.-265) สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

อิน-หยางและธาตุทั้งห้า 


2) คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิง คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิง หรือ ตำราเภสัชวิทยาดั้งเดิมของเสินหนง มีอายุราว 1,780 ปี ประกอบด้วยตำรา 3 เล่ม กล่าวถึง ตัวยา 365 ชนิด ได้แก่ พืช 252 ชนิด สัตว์ 67 ชนิด และแร่ธาตุ 46 ชนิด มีการแบ่งยาออกเป็น 3 ระดับ ตามความปลอดภัย คือ

- ชั้นดี (Top grade) เป็นยาที่มีความปลอดภัยในการใช้

- ชั้นปานกลาง (Middle grade) เป็นยาที่ไม่มีอันตรายหากใช้อย่างถูกต้อง

- ชั้นต่ำ (Low grade) เป็นยาที่อันตรายโดยเฉพาะหากรับประทานมากเกินไป

ตามคัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิง ยังริเริ่มหลักทฤษฎียาจีนโดยแบ่งยาออกเป็น 4 จำพวก (ร้อน เย็น อุ่น และกลาง) 5 รส (เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวาน และขม) 7 ผลลัพธ์ (ตัวยาเดี่ยว เสริมฤทธิ์กัน เสริมฤทธิ์ฝ่ายเดียว ถูกข่ม ลดทอนหรือกำจัดพิษ ลดทอนฤทธิ์ และให้ผลตรงข้าม) หลักการรักษาอาการฝ่ายเย็นด้วยยาร้อน และรักษาอาการฝ่ายร้อนด้วยยาเย็น 

อย่างไรก็ตาม ในยุคราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋ามีอิทธิพลสูง ทำให้มีการมุ่งแสวงหายาอายุวัฒนะมากกว่าเรื่องการรักษาโรค ตัวยาที่ใช้ประกอบเป็นยาอายุวัฒนะจึงถูกจัดเป็นยาชั้นดี    


3. -ยุคก่อกำเนิดทฤษฎีการแพทย์จีน-(Origin-of-Traditional-Chines-Medicine-Theory)-จากยุคจั้นกั๋ว-(ยุครณรัฐ)-ถึงยุคสามก๊ก-(San-Guo)-(475-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช-ถึง-ค.ศ.-265) thai-herbs.thdata.co | 3. -ยุคก่อกำเนิดทฤษฎีการแพทย์จีน-(Origin-of-Traditional-Chines-Medicine-Theory)-จากยุคจั้นกั๋ว-(ยุครณรัฐ)-ถึงยุคสามก๊ก-(San-Guo)-(475-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช-ถึง-ค.ศ.-265) สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิง


    3) ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น หรือ ตำราไข้และโรคเบ็ดเตล็ด เขียนโดย จางจ้งจิ่ง ตอนปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25 - 220) โดยรวบรวมความรู้ทางการแพทย์ในอดีตและประสบการณ์ของตนเอง แต่งตำรา 16 เล่ม แยกโรคตามอาการ และอาการแสดง ที่สำคัญคือ เลิกเชื่อว่าเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรค และบรรยายวิธีการรักษา 8 วิธี ได้แก่ การขับเหงื่อ การทำให้ อาเจียน การระบาย การประสาน การให้ความอุ่น การลดความร้อน การบำรุง และการสลาย

ในยุคนี้มีแพทย์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่

- เปี่ยนเชวี่ย หรือฉินเยฺวี่ยเหริน เป็นแพทย์ที่เขียนตำราแพทย์ไว้หลายเล่ม เป็นผู้ต่อต้านความเชื่อเรื่องหมอผีอย่างแข็งขัน ซือหม่าเชียน (Si Maqian) นักประวัติศาสตร์คนสำคัญในยุคราชวงศ์ฮั่นยกย่องว่า เปี่ยนเชวี่ยเป็นหมอคนแรกที่เริ่มวิชาจับชีพจร เปี่ยนเชวี่ยได้รับฉายาว่าเป็น หมอเทวดา (Divine Doctor)

- อีหยิ่น หรือฉางกง เป็นผู้บันทึกเรื่องชีพจรไว้ 20 ชนิด (ปัจจุบันรวมได้ 28 ชนิด) เป็นผู้ริเริ่มการบันทึกประวัติคนไข้ เป็นผู้ต่อต้านเรื่องยาอายุวัฒนะอย่างแข็งขัน และกล้ายอมรับความผิดพลาดในการวินิจฉัยและการรักษาโรคของตน

- ฮัวถวอ เป็นแพทย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศัลยแพทย์ผู้บุกเบิก มีชีวิตอยู่ในยุคสามก๊ก เป็นคนที่ไม่สนใจยศตำแหน่ง มุ่งรักษาคนธรรมดาสามัญ ต่อมามีโอกาสรักษาโจโฉจนได้รับตำแหน่งเป็นแพทย์ประจำตัวของโจโฉ แต่ทนคิดถึงบ้านไม่ได้ จึงเดินทางกลับบ้าน และไม่ยอมเดินทางกลับมาตามคำสั่ง โจโฉจึงสั่งจับและให้ประหารชีวิต ก่อนตาย ฮัวถวอมอบตำราให้ผู้คุม แต่ผู้คุมกลัวความผิดไม่กล้ารับไว้ ฮัวถวอจึงเผาตำราทิ้ง ทำให้ตำราของฮัวถวอสูญสิ้นไป ฮัวถวอมีศิษย์เอก 3 คน แต่งตำราแพทย์ไว้ 2 เล่ม มีตำราอีกหลายเล่มที่ระบุว่าฮัวถวอเป็นผู้แต่ง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแต่งโดยบุคคลอื่นแต่ใส่ชื่อฮัวถวอเป็นผู้เขียน เชื่อว่าฮัวถวอใช้ยาหมาฝู่ส่าน เป็นยาระงับความรู้สึกชนิดรับประทานให้แก่คนไข้ก่อนผ่าตัด นอกจากนี้ ฮัวถวอยังสนใจเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล การบำรุงสุขภาพ และการบริหารร่างกายโดยเลียนแบบท่าทางของสัตว์ 5 ชนิด คือ เสือ กวาง หมี ลิง และนก ตามประวัติกล่าวว่า แม้ฮัวถวอจะมีอายุร้อยปี สุขภาพก็ยังดี และหวูผู่ศิษย์คนหนึ่งของฮัวถวอ ซึ่งปฏิบัติตนโดยการบริหารร่างกายเลียนแบบสัตว์ 5 ชนิด เมื่อมีอายุถึง 90 ปี หู ตา และฟันก็ยังดี ฮัวถวอมีความชำนาญเรื่องฝังเข็มและรมยา โดยพยายามใช้ยาน้อยชนิดและฝังเข็มน้อยจุ


3. -ยุคก่อกำเนิดทฤษฎีการแพทย์จีน-(Origin-of-Traditional-Chines-Medicine-Theory)-จากยุคจั้นกั๋ว-(ยุครณรัฐ)-ถึงยุคสามก๊ก-(San-Guo)-(475-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช-ถึง-ค.ศ.-265) thai-herbs.thdata.co | 3. -ยุคก่อกำเนิดทฤษฎีการแพทย์จีน-(Origin-of-Traditional-Chines-Medicine-Theory)-จากยุคจั้นกั๋ว-(ยุครณรัฐ)-ถึงยุคสามก๊ก-(San-Guo)-(475-ปี-ก่อนคริสต์ศักราช-ถึง-ค.ศ.-265) สรรพคุณ สมุนไพร ไทย เปี่ยนเชวี่ย-อีหยิ่น-ฮัวถวอ





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล