Select your language TH EN
เภสัชกรรม การใช้ตัวยาอันตราย  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ




พิกัดเกลือพิเศษ


พิกัดเกลือพิเศษ คือ จำกัดจำนวนเกลือพิเศษ ๗ อย่าง คือ เกลือสุนจะละ เกลือเยาวกาสา เกลือด่างคะลี เกลือวิทู เกลือกะตัง (เกลือเกิดด้วยมูตร) เกลือสมุทร เกลือสุวสา  สรรพคุณ ล้างลำไส้ แก้เสมหะ แก้ปัสสาวะ แก้โรคท้องมาน กัดเมือกมันในลำไส้  แก้น้ำเหลืองเสีย บำรุงธาตุทั้ง ๔ และแก้ธาตุทั้ง ๔

(๑) เกลือสมุทร หรือเกลือ หรือเกลือแกง (ในภาษาสันสกฤตคําว่า Samudra แปลว่า ทะเลใหญ่) หมายถึงเกลือที่ได้จากน้ําทะเล ในตํารายาแผนโบราณโดยทั่วไปหากไม่ระบุว่าเกลืออะไร ให้หมายถึงเกลือ 3 ชนิดนี้ สรรพคุณ รสเค็ม บํารุงธาตุทั้ง 4 แก้น้ําดีพิการ แก้โรคท้องมาน รักษาเนื้อหนังไม่ให้เน่าเปื่อย แก้ น้ําเหลืองเสีย

(๒) เกลือสุนจะละ (KNO) ฝรั่งเรียกว่า Saltpetre หรือ Nitre เกลือชนิดนี้ สมัยก่อนแขกชาวอินเดีย นําเข้ามาขายในประเทศไทย ชื่อนี้จึงควรเขียนว่า “สุรจะระ” ซึ่งจะพ้องกับคําว่า Surakchaaram (ภาษา สันสกฤต) หรือ Surcharam (ภาษาเตลูกู-ภาษาถิ่นหนึ่งในอินเดีย) หรือ Surakhara (ภาษาคานารีส-ภาษา ถิ่นหนึ่งในอินเดีย)

ต่อมา เกลือชนิดนี้ได้หยุดจําหน่ายในประเทศไทย กอปรกับมีคําว่า “(ดิน) ประสิว” เกิดขึ้น ซึ่งเป็น ชื่อของเกลือเม็ดเล็กๆ ที่เกิดจากการต้มขี้ค้างคาวหรือขึ้นกนางแอ่น มาใช้แทน ดังนั้น ในทางเคมีทั้งดินประ สิวขาว และเกลือสุรจะระ จึงเป็นของอย่างเดียวกัน

*ตําราอายุรเวทของอินเดียว่า สารละลายเกลือชนิดนี้ในน้ํา ดื่มแล้วจะทําให้ตัวเย็น เหมาะสําหรับผู้ เป็นไข้ นอกจากนั้นยังเป็นยาขับปัสสาวะ และยาขับเหงื่อที่มีประสิทธิภาพ

*ตํารายาไทยว่า มีสรรพคุณบํารุงน้ำเหลือง

(๓) เกลือสุวสา ในปัจจุบันมีการกล่าวอ้างว่า เป็นส่วนผสมที่อยู่ในตํารับของสปาด้วย คุณสมบัติที่มีความละเอียดกว่าเกลือทั่วๆไป จึงนํามาใช้ในการขัดตัว เพื่อขจัดขี้ไคล ผิวคล้ําหมอง ด่างดํา กระเนื้อ และใช้คุณสมบัติของเกลือ ในการช่วยกระชับผิวเปลือกส้ม ให้ดูเนียนเรียบขึ้นด้วย

(๔) เกลือเยาวกาสา มาจากคําภาษาสันสกฤตว่า Yavakshara เป็นเกลือสารประกอบอนินทรีย์ที่มี สูตรเคมี คือ K,CO, (Potassium carbonate) ฝรั่งเรียกเกลือชนิดนี้ว่า Salt of Tartar หรือ Pearl Ash เป็น ผลึกสีขาวได้จากสารละลายด่างที่ดึงน้ําออกมา มีขายตามท้องตลาดในรูปของผงแกรนูลสีขาว ที่เรียกว่า "โปแตช” ต้นกําเนิดตามธรรมชาติของสมุนไพรเครื่องยาโบราณนี้ ได้จากขี้เถ้าของเนื้อไม้พืชสมุนไพรเฉพาะ ชนิดบางจําพวก นํามาเผาให้เหลือเถ้า

*ตํารายาอายุรเวทของอินเดียว่า ช่วยบํารุงธาตุ เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ลดกรดในกระเพาะ อาหาร 

*ตํารายาไทยว่า มีสรรพคุณ บํารุงเสมหะ แก้หืด ไอ

(๕) เกลือวิทู จากการค้นคว้ายังไม่พบข้อมูล

(๖) เกลือด่างคะลี ในตําราบางเล่มกล่าวว่าเป็นเกลือที่เกิดจากการผสมของวัตถุ 3 ชนิดอันได้แก่ เกลือสมุทร ๑ เกลือสินเธาว์ ๑ และด่าง ที่ได้จากเถ้าของการเผาไม้บางชนิด เช่น เถาไม้พันธุ์งู (เรียกว่า ด่างพญานาค) ๑ แต่เมื่อพิจารณาจากรากศัพท์แล้ว เกลือ ด่างคลี น่าจะเป็นเกลือของธาตุ คาลิอุม (Kalium) หรือ คาลิ (Kali) หรือก็คือเกลือโพแทสเซียม (K) มากกว่า โบราณว่าเกลือชนิดนี้มีสรรพคุณชําระ ล้างลําไส้ แก้ปัสสาวะพิการ 

(๗) เกลือกะตังมูตร หรือ เกลือเยี่ยว เตรียมจากปัสสาวะโค หรือปัสสาวะคนที่ปล่อยทิ้งไว้จนแห้งเป็นแผ่นแข็ง 


เกลืออื่น ๆ ที่มีก่ารใช้อยู่บ้าง

เกลือจืด (Cas0,2H,0) หรือยิปซัม หรือหินเต้าหู เป็นเกลือที่ใช้ในการปั้นปูน อุตสาหกรรม ก่อสร้าง และผลิตเต้าหู คือผลผลิตที่ได้จากขั้นสุดท้ายของการทํานาเกลือในแต่ละปี

เกลือฟอง คือเกลือจืดที่เกิดในพื้นดิน

เกลือสะตุ เป็นเกลือสมุทร หรือเกลือสินเธาว์ ที่นํามาคั่วที่อุณหภูมิสูงจนความชื้น และน้ําระเหย ไปหมด ทําให้เสียรูปผลึกของโซเดียมคลอไรด์ (NaCI)

ดีเกลือ มีสองชนิด คือดีเกลือ มีสูตรทางเคมีว่า Na,SO, กับ ดีเกลือฝรั่ง มีสูตรทางเคมีว่า MgSO,7H,0 ทั้งสองชนิดใช้เป็นยาถ่าย ใช้ในการย้อมสี

จะเห็นได้ว่าความรู้ที่มีอยู่ในตําราแพทย์แผนไทยนั้นมีความสุขุมลุ่มลึกเป็นอันมาก เพียงคําว่า เกลือเพียงคําเดียว ก็สามารถแยกแยะออกได้มากมายหลายชนิด นับจนถึงปัจจุบัน คําบางคําก็เลือนหายไป อย่างน่าเสียดาย จึงสมควรที่เราที่เป็นคนรุ่นหลังควรทําการศึกษาเพื่อเรียนรู้ไม่ให้ความรู้เหล่านี้ต้องสูญหาย ตามกาลเวลาเร็วเกินไป





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล