Select your language TH EN
สมุนไพรจีน-เต้าตี้เย่าไฉ การแปรรูปเต้าตี้เย้าไฉ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



การแปรรูปเต้าตี้เย่าไฉ

การแปรรูปเต้าตี้เย่าไน หมายถึง กระบวนการแปรรูปเบื้องต้นที่แหล่งปลูก โดยภายหลังการเก็บเกี่ยวสมุนไพรจากแหล่งปลูกแล้วนํามาคัดเลือก ทําความสะอาด หัน และทําให้แห้ง ณ โรงงานบริเวณใกล้แหล่งปลูก เต้าตี้เย่าไนส่วนใหญ่จะต้องดําเนินการแปรรูป เบื้องต้นก่อนใช้ มีเต้าตี้เย่าไฉเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ต้องใช้สด

1. วัตถุประสงค์การแปรรูปเต้าตี้เย่าไฉ มีดังนี้

(1) เพื่อให้ได้สมุนไพรที่สะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอมและส่วนอื่นของพืชที่ไม่ใช้ทํายา

(2) เพื่อให้ได้สมุนไพรที่มีคุณภาพดี โดยดําเนินการแปรรูปเบื้องต้นด้วยวิธีนึ่ง ต้ม รมควัน ฆ่าเชื้อราและแมลง ช่วยให้สมุนไพรแห้งง่าย และลดการเสื่อมสภาพของสมุนไพร

(3) เพื่อสะดวกต่อการจัดระดับคุณภาพของสมุนไพร การบรรจุ และการขนส่งเนื่องจากจํานวนชนิดของสมุนไพรมีค่อนข้างมาก ส่วนที่ใช้ทํายาก็ไม่เหมือนกัน ลักษณะ สี กลิ่น รสชาติ และเนื้อของสมุนไพร รวมทั้งองค์ประกอบทางเคมีของสมุนไพร แต่ละชนิดแตกต่างกันมาก และวิธีการแปรรูปต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ถ้าจะให้เข้ามาตรฐาน ตามเกณฑ์ที่กําหนด ลักษณะภายนอกของสมุนไพรจะต้องสมบูรณ์ ความชื้นของสมุนไพรต้องพอเหมาะ มีสีสดใส มีรสชาติและกลิ่นปกติ และจะต้องสูญเสียสารสําคัญน้อยที่สุด เช่น ไหวหมีหากไม่นํามานึ่งก่อนปริมาณสาร rutin จะลดลง

2. วิธีแปรรูปเบื้องต้นที่ใช้บ่อย

(1) การทําความสะอาด นําสมุนไพรมาล้างน้ำสะอาดเพื่อแยกดิน ทราย สิ่ง แปลกปลอม หรือแยกส่วนของพืชที่ไม่ใช้ทํายาออก เช่น หนิวซี (พันงูน้อย) ให้ตัด หมวกรากและรากฝอยออก เจี้ยเกิง และไปเสา ต้องปอกเอาผิวหรือ เปลือกออก ต้นผี (เปลือกรากโบต้น) ต้องเอาไส้ในออก ผีผาเยี่ย ต้องกําจัดขน เก้อเจี้ย (ตุ๊กแก) ต้องเอาอวัยวะภายในออก เป็นต้น

(2) การกะเทาะเปลือกผล ส่วนมากใช้กับสมุนไพรจําพวกเมล็ด โดยทั่วไปภายหลังการเก็บเกี่ยวผลแล้ว บางชนิดต้องเอาเปลือกผลออกก่อนเก็บเฉพาะเมล็ด แล้วนํามาทําให้แห้ง เช่น เถาเหริน (เมล็ดท้อ) สมุนไพรบางชนิดต้องนําผลมาทําให้แห้งก่อนแล้วกะเทาะเปลือกเอาเฉพาะเมล็ดมาใช้ เช่น เซอเฉียนจื่อ (เมล็ดผักกาดน้ำ) ที่ชื่อจื่อ (เมล็ดฝอยทอง) สมุนไพรบางชนิดจะเก็บทั้งผล แม้ว่าส่วนที่ใช้ทํายาคือ เมล็ดหรือเนื้อในเมล็ด ทั้งนี้เนื่องจากสารออกฤทธิ์ไม่คงตัว ทําให้ฤทธิ์ของสมุนไพรเสื่อมเร็ว ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรักษา จึงเก็บทั้งผล และเมื่อต้องการใช้จึงค่อยกะเทาะเอาเปลือก ผลออก เช่น ไปกว่อ (แปะก๊วย) ไปโต้วโข่ว (กระวานไทย) เป็นต้น

(3) การหั่น สมุนไพรบางชนิดมีขนาดยาวหรือหนา เพื่อสะดวกในการทําให้แห้งและการบรรจุหีบห่อ จึงต้องนํามาหันให้สั้นหรือบางลง เช่น ผ่อโส่ว (ส้มมือ) เซียงหยวน ให้นั่นเป็นแว่นบางๆ มู่กวา นั่นตามยาวเป็นกลีบ จีเสวี่ยเถิง นั่นเป็นแว่นตามขวาง ต้าหวง (โกศน้ำเต้า) เก้อเกิน นั่นเป็นแว่น หนาหรือนั่นเป็นชิ้น การหั่นสดที่โรงงานบริเวณใกล้แหล่งปลูกมีข้อดีคือ ลดต้นทุนในการ แปรรูป ช่วยลดการสลายตัวของสารออกฤทธิ์ ลดเวลาการทําให้แห้ง สะดวกต่อการบรรจุหีบห่อและการเก็บรักษา แต่มีข้อเสียคือ หลังจากนั่นสมุนไพรแล้วรูปลักษณ์ภายนอกไม่ สม่ำเสมอ ทําให้การตรวจเอกลักษณ์ไม่สะดวก นอกจากนี้ สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบ หรือ สมุนไพรที่มีสารสําคัญที่สามารถเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ง่าย ไม่ควรนํามานั้น เพราะจะทําให้สารสําคัญลดลง เช่น ชวนซุยง (โกฐหัวบัว) ไปจ่อ (โกฐสอ) ปิงหลาง (หมากสง) เป็นต้น

(4) การนึ่ง การนึ่งสมุนไพรมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ สมุนไพรที่อมน้ำมาก หรือมีน้ำตาล หรือมีแป้งเป็นส่วนประกอบ โดยทั่วไปจะทําให้แห้งยาก เมื่อนํามานึ่งก่อนจะทําให้เซลล์เนื้อเยื่อแตกสลาย เอนไซม์ถูกทําลายทําให้แห้งง่าย และสะดวกต่อการเก็บรักษา เช่น เทียนหมา หมิงตั้งเซิน จะต้องนึ่งจนสุกถึงเนื้อในก่อนทําให้แห้ง ในขณะที่อู่เป้ย์จอ และซังเพียวเซียวจะนํามานึ่งเพื่อทําลายไข่ของแมลง และป้องกันการฟักตัวของแมลง เทียนตง นํามานึ่งหรือลวก เพื่อให้ลอกผิวได้ง่าย สมุนไพรบางชนิดต้องนํามาต้มกับน้ำเกลือ เช่น เฉวียนจุเหวีย (แมงป่อง) เงินจูหมู่ (เปลือกหอยไข่มุกน้ำจืด) เป็นต้น

ในการนึ่งสมุนไพรควรให้ความสําคัญกับระดับไฟที่ใช้ หากไฟอ่อนเกินไปจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ หากไฟแรงเกินไปจะทําให้สูญเสียสารสําคัญ

(5) การรมควัน สมุนไพรบางชนิดจะต้องใช้วิธีรมควัน เพื่อให้ได้สมุนไพรที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กําหนด และง่ายต่อการเก็บรักษา เช่น อูเหมย (บ้วยดํา) ต้อง รมควันจนเป็นสีดํา ส่วนซันเย่า ชวนเบี้ย์หมู่ต้องรมด้วยกํามะถันจนกระทั่งสีของสมุนไพรเปลี่ยนเป็นสีขาว สําหรับเซียง (แห้วหมู) คู่ซุ่ยปู่ ต้องใช้ไฟลนเพื่อกําจัดขนออกก่อน แต่ต้องระมัดระวังอย่าให้สมุนไพรไหม้

(6) การทําให้ออกเหงื่อหรือทําให้น้ำระเหยออกบางส่วน ในระหว่างการแปรรูปสมุนไพรบางชนิด มักจะกองสุมหลังการนึ่งเพื่อให้ออกเหงื่อน้ำที่อยู่ในสมุนไพรระเหยออกมา ช่วยให้เนื้อสมุนไพรนิม หรือเปลี่ยนสี หรือเพิ่มกลิ่นและรสชาติให้แรงขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อการทําให้แห้งและเพิ่มคุณภาพของสมุนไพร วิธีการแปรรูปแบบนี้ เรียกว่า การทําให้ออกเหงื่อ เช่น โฮวผอ ตู้จัง สมุนไพรเหล่านี้ต้องใช้วิธีนี้ เพื่อให้ได้สีที่เฉพาะตัว สมุนไพรบางชนิดจําเป็นต้องใช้วิธีนี้จึงสามารถทําให้แห้งสนิทได้ เช่น ชวนซุยง (โกฐหัวบัว) ต้าหวง ( โกศน้ำเต้า) การแปรรูปสมุนไพรด้วยวิธีนี้ต้องกําหนดระยะเวลาที่ทําให้ออกเหงื่อให้เหมาะสมกับชนิดของสมุนไพร เพื่อป้องกันการขึ้นราและไม่ให้คุณภาพของสมุนไพรเปลี่ยนไป

(7) การแช่น้ำเกลือ โดยนําสมุนไพรที่สะอาดแช่ในสารละลายน้ำกลือที่อิ่มตัว มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราซึ่งจะทําให้คุณภาพของสมุนไพรเปลี่ยนไป เช่น ฟูจื่อ (โหราเดือยไก่ที่ผ่านการเผ้าจื้อ) ต้องนําสมุนไพรมาแช่ในสารละลายน้ำเกลือที่อิ่มตัวในระยะเวลาที่เหมาะสมจากนั้นนําไปทําให้แห้ง

(8) การกระแทกให้สะอาด สมุนไพรบางชนิดต้องแยกเอารากฝอย ผิวที่หยาบ ดิน หรือทรายที่ปะปนมาออก โดยหลังจากผ่านขั้นตอนการทําความสะอาดและการทําให้แห้งแล้วเทสมุนไพรที่ได้ลงในตะแกรงหรือเครื่องร่อนเพื่อให้สมุนไพรกลิ้งกระแทกไปมาจนผิวสะอาดและเป็นมัน เช่น หวงฉิน เป้ย์หมู่ ซานชี (โสมนา) เป็นต้น

(9) การทําให้แห้ง เป็นวิธีพื้นฐานและนิยมใช้ที่สุด การทําให้แห้งต้องคํานึงถึงคุณสมบัติและปริมาณของสมุนไพรที่ใช้ สภาพภูมิอากาศ และความพร้อมของเครื่องมือในพื้นที่นั้น วิธีทําให้แห้งของแต่ละพื้นที่อาจแตกต่างกัน แต่จะต้องได้สมุนไพรแห้งที่มีปริมาณ น้ำไม่เกินร้อยละ 10-15 ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล วิธีทําให้แห้งที่ใช้บ่อย มีดังนี้

1) การตากแดด วิธีนี้ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการทําให้แห้งเป็นวิธีที่ใช้บ่อยง่ายและประหยัด แต่ต้องคํานึงถึงคุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิด เช่น สมุนไพรที่มีปริมาณน้ำมากต้องตากแดดจัดๆ เพื่อให้แห้งเร็ว สมุนไพรที่เปลี่ยนสีหรือกลิ่นระเหยง่าย ควรตากแดดอ่อนๆ เช่น ชวนซุยง (โกฐหัวบัว) หงฮวา (ดอกคําฝอย) ส่วนสมุนไพรที่มีปริมาณน้ำมันหรือน้ำตาลมาก มักตากแดดอ่อนๆ หลายๆ ครั้งจนแห้งสนิท เพื่อให้สมุนไพรค่อยๆ แห้ง สมุนไพรที่มีลักษณะหยาบและใหญ่ มักจะกองสุมหลังการนึ่ง เพื่อให้ออกเหงื่อแล้วจึงนําไปตากแดดให้แห้ง สมุนไพรบางชนิดตากแดดไปพร้อมกับหมั่นเกลี่ยและกลับสมุนไพร เพื่อทําให้ผิวหน้าเป็นมันมีน้ำหนัก และเนื้อนุ่ม

2) การอบ เป็นวิธีที่ใช้ทั้งแรงงานคนและเครื่องมือ โดยนําสมุนไพรที่สะอาดใส่ในเตาอบ หรือตู้อบ การทําให้แห้งโดยวิธีนี้ต้องคํานึงถึงขนาดใหญ่-เล็ก และคุณสมบัติของสมุนไพร โดยควบคุมอุณหภูมิที่ใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของสมุนไพร โดยทั่วไปมักใช้ อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส สมุนไพรบางชนิดมีน้ำมันหอมระเหยหรือมีกลิ่นหอม ควรควบคุมอุณหภูมิที่อบให้อยู่ระหว่าง 30-40 องศาเซลเซียส สมุนไพรที่มีวิตามินซี และมี ปริมาณน้ำมาก เช่น ซันจา มู่กวา มักอบที่อุณหภูมิ 70-90 องศาเซลเซียส เพื่อให้สมุนไพรแห้งอย่างรวดเร็ว ในระหว่างที่อบสมุนไพรควรหมั่นกลับสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกรียมเฉพาะส่วน วิธีการอบมีข้อดี คือ ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ และสามารถทําให้แห้งได้ตลอดเวลาเมื่อต้องการ แต่มีข้อเสีย คือ ต้นทุนสูง และต้องสิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้า

3) การตากในที่ร่ม โดยนําสมุนไพรที่สะอาดมาตากในที่ร่มซึ่งมีลมถ่ายเทสะดวก เพื่อให้สมุนไพรค่อยๆ แห้ง น้ำในสมุนไพรสามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิปกติ วิธีการนี้จะใช้กับสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยหรือสารที่ระเหยได้ง่าย ไม่สามารถอบหรือ ตากแดด สมุนไพรประเภทดอก ใบ ทั้งต้น ผล และเมล็ดที่ใช้วิธีนี้ในการทําแห้ง เช่น จึงเงี้ย ป๋อเหอ จ่อซู (ใบงาขี้ม้อน) หงฮวา (ดอกคําฝอย) เป็นต้น

ปัจจุบันเริ่มมีการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตหรือเตาไมโครเวฟในการทําให้แห้ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ วิธีนี้สะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง แต่ต้องลงทุนซื้อเครื่องมือซึ่งมีราคาแพง ทําให้ต้นทุนในการทําให้แห้งค่อนข้างสูง ดังนั้นโรงงานบริเวณใกล้แหล่งปลูกส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเลือกใช้วิธีนี้

(10) การคัดแยกระดับคุณภาพของสมุนไพร จะดําเนินการหลังจากสมุนไพรได้ผ่านการทําให้แห้งแล้ว โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานการจัดระดับคุณภาพของสมุนไพร ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการแปรรูปเต้าตี้เย่าไฉ ซึ่งจะใช้มาตรฐานของขนาดยาว-สั้น ใหญ่เล็ก สี ความสมบูรณ์ หรือจํานวนชิ้นต่อหน่วยน้ำหนักของสมุนไพร วิธีการนี้สามารถแยกสมุนไพรชนิดเดียวกันแต่มีคุณภาพต่างกันได้ ทําให้ง่ายต่อการกําหนดราคาที่เป็นธรรมตาม คุณภาพของสมุนไพร




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง