Select your language TH EN
สมุนไพรจีน-เต้าตี้เย่าไฉ การจําแนกเต้าตี้เย้าไฉ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



การจําแนกเต้าตี้เย่าไฉ

ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์และความเคยชินในการใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถจําแนกเต้าตี้เย่าไฉตามเขตเกษตรกรรมในประเทศออกเป็น 10 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1. กลุ่มชวนเย่า ได้แก่ สมุนไพรที่มีแหล่งผลิตในมณฑลซื่อชวน เช่น ชวนซวง (โกฐหัวบัว) ชวนเบี้ย์หมู่ ชวนอู (รากแก้วของโหราเดือยไก่) ชวนหนิวซี (พันงูน้อย) ชวนไม่ตง ชวนผอ ชวนเลี่ยนผี (เปลือกผล เลี่ยน) ชวนเลี่ยนจอ (ผลเลี่ยน) ชวนมู่เซียง (โกฐกระดูก) ชวนเหลียน (หรือหวงเหลียน ได้) ชวนหวงป๋อ ชวนตั้งเซิน ชวนซี่ด้วน เป็นต้น 

2. กลุ่มกว่างเย่า ได้แก่ สมุนไพรที่มีแหล่งผลิตในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) กว่างซี (กวางสี) และ ไห่หนัน (เกาะไหหลํา) เช่น กว่างฝาง จี กว่างฮั่วเซียง (พิมเสนต้น) กว่างมู่เซียง (โกฐกระดูก) กว่างโต้วเกิน กว่างเจ่า (พุทราจีน) เป็นต้น 

3. กลุ่มหวินเย่า ได้แก่ สมุนไพรที่มีแหล่งผลิตในมณฑลหวินหนัน (ยูนนาน) เช่น หวินมู่เซียง (โกฐกระดูก) หวินเฉียนหู หวินกุย หวินฝางเฟิง หวินหลิง (โป่งรากสน) หวินหนันซาเซิน หวินหนันจังโหลว (ตีนฮุ้งดอย) เป็นต้น

4. กลุ่มกุ้ยเย่า ได้แก้กลุ่มสมุนไพรที่มีแหล่งผลิตในมณฑลกุ้ยโจว เช่น กุ้ยโจวปาเจียวเหลียน เทียนหมา เทียนตง หวงจิง ยวี่จู๋ ตู้จง อู่เป้ย์จือ (มะเหลี่ยมหิน) เป็นต้น 

5. กลุ่มไหวเย่า ได้แก่ สมุนไพรที่มีแหล่งผลิตในมณฑลเหอหนัน เช่น ไหวตี้หวง (โกฐขี้แมว) ไหวหนิวซี (พันงูน้อย) ไหวชันย่า ไหวจหวีฮวา (เก๊กฮวย) ไหวกู่จือ ไหวอันเสี่ยวฝางเฟิง เหอ หนันซาเซิน เป็นต้น

6. กลุ่มเจ้อเย่า ได้แก่ สมุนไพรที่มีแหล่งผลิตในมณฑลเจ้อเจียง เช่น เจ้อเป้ย์หมู่ เจ้อเสวียนเซิน เจ้อตู๋หัว เจ้อจู๋ (หรือไป๋จู๋) หังไป๋จื่อ (โกฐสอ) ฟังจหวีฮวา (เก๊กฮวย) เป็นต้น

7. กลุ่มกวนเย่าได้แก่ สมุนไพรที่มีแหล่งผลิตในมณฑลเหลียวหนิง จี้หลิน เฮย์หลงเจียง และภาคตะวันออกของเน่ย์เหมิงก์ (มองโกเลียในตะวันออก) เช่น กวนฝางเฟิง กวนมู่ทง กวนหวงป๋อ กวนเซิงหมา กวนหลงต่าน เป็นต้น

8. กลุ่มเป่ย์เย่า ได้แก่ สมุนไพรที่มีแหล่งผลิตในมณฑลเหอเป่ย์ ซันตง ซันซี และภาคกลางของเน่ย์เหมิง (มองโกเลียในกลาง) เช่น เป่ย์ซาเซ็น เป่ย์ไฉหู เป่ย์ซันจา เป่ย์โต้วเกิน เป่ย์ต้าหวง (โกศน้ำเต้า) เป่ย์ชังจู๋ (โกฐเขมา) เป่ย์ซันจา เป่ย์ซี่ซิน เป่ย์อู่เจียผี เป่ย์อู่เว่ย์จื่อ เป็นต้น 

9. กลุ่มซี่เย่า ได้แก่ สมุนไพรที่มีแหล่งผลิตในมณฑลส่านซีตะวันตก กันซู่ ชิงไห่ ซินเจียง และภาคตะวันตกของเน่ย์เหมิง (มองโกเลียในตะวันตก) เช่น ชีหงฮวา (หญ้าฝรั่น) ซีเซิงหมา ซีกันเฉ่า (ชะเอมเทศ) ซีโต้วเกิน ซีหยางเซิน (โสมอเมริกัน) ซีต่ง (หรือ ตั่งเซิน ) ซีอู่เว่ย์จอ ซีอินเฉิน ซีจั้งมู่กวา เป็นต้น

10. กลุ่มหนันเย่า ได้แก่ สมุนไพรที่มีแหล่งผลิตทางใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง ได้แก่ มณฑลหูหนัน หูเป่ย์ เจียงซู อันฮุย เจียงซี ฝูเจี้ยน และไต้หวัน เช่น หนันอู่เว่ย์จื่อ หนันอู่เจียผี หนันซาเซ็น หนันตันเซ็น หนันปันหลันเกิน หนันชังจู๋ (โกฐเขมา) หนันยุวีกุ้ย (อบเชยจีน) หนันซวนเจ่า เป็นต้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง