Select your language TH EN
ศาสตร์การเผ้าจื้อ ฝู่เลี่ยวที่ใช้ในการเผ้าจื้อ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ฝู่เลี่ยวที่ใช้ในการเผ้าจื้อ

ฝู่เลี่ยว หรือสารปรุงแต่งที่ใช้บ่อยในการเผ้าจื้อ มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือฝู่เลี่ยวที่นำมาใช้ในการเตรียมผลิตภัณฑ์ยาในรูปแบบต่างๆ เช่น ยาเม็ดยา แคปซูล และยาผง ซึ่งฝู่เลี่ยวเหล่านี้มีคุณสมบัติทางเคมีค่อนข้างเสถียร โดยไม่ทำให้คุณสมบัติทางเคมีหรือทางกายภาพของตัวยาหลักนั้นเปลี่ยนแปลง ช่วยให้ตำรับยามีความคงตัวโดยทำหน้าที่เป็นสารดูดซับช่วยดูดซับความชื้นที่มีในตัวยาและช่วยทำให้ตัวยามีขนาดรับประทานสม่ำเสมอ คือ น้ำหนักเม็ดยา น้ำหนักแคปซูล หรือน้ำหนักผงต่อซอง มีความสม่ำเสมอไม่ผันแปรมาก อีกกลุ่มหนึ่งคือ ฝู่เลี่ยวที่มีผลต่อคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของตัวยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสัมฤทธิ์ หรือลดพิษ หรือลดผลข้างเคียงของตัวยา

ฝู่เลี่ยวสามารถแบ่งตามสถานะได้เป็น 2 ชนิด คือ ฝู่เลี่ยวเหลว และฝู่เลี่ยวชนิดของแข็ง

 1. ฝู่เลี่ยวชนิดของเหลว ฝู่เลี่ยวชนิดของเหลว มีดังนี้

1.1 เหล้า (จิ่ว) โบราณมีชื่อเรียกเราต่างๆนานาแต่ปัจจุบันเหล้าที่ใช้เป็นเพียงฝู่เลี่ยวมีเพียง 2 ชนิดคือเหล้าเหลืองและเหล้าขาว มีส่วนประกอบหลักคือแอลกอฮอล์อาจมีไขมันและสารอินทรีย์อื่นๆเจือปน เหล้าเหลืองผลิตจากข้าวเจ้า หรือข้าวสาลี หรือข้าวโพด โดยการกลั่นมีปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณร้อยละ 15 ถึง 20 และเจือปนด้วย น้ำไข มันกรดอะมิโน และแร่ธาตุอื่นๆ เหล้าเหลืองมีสีเหลืองใสมีกลิ่นหอมจำเพาะ ส่วนเหล้าขาวได้จากการกลั่นข้าวเจ้า หรือข้าวสาลี หรือมันสำปะหลัง หรือข้าวเกาเหลียง  มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 ถึง 60 และเจือปนด้วยกรดอินทรีย์ ไขมัน และสารแอลดีไฮด์ 

สมัยโบราณมักใช้เหล้าเหลืองและเริ่มใช้เหล้าขาวในสมัยราชวงศ์เหวียน เหล้าเป็นของเหลวใสไม่มีตะกอนหรือสิ่งเจือปนอื่นๆมีกลิ่นหอมของเหล้า เหล้าที่ดีไม่ควรมีกลิ่นเปรี้ยวหรือกลิ่นหมักหรือกลิ่นอื่นๆมีปริมาณแอลกอฮอล์ตามเกณฑ์มาตรฐานโดยมีปริมาณเมทิลแอลกอฮอล์ไม่เกิน 0.04 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร น้ำมันประเภทแอลกอฮอล์อื่นๆไม่เกิน 0.02 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร  ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่เกิน 0.05 กรัมต่อกิโลกรัม  แอลฟาท็อกซิน B1 ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม แบคทีเรียรวมไม่เกิน 50 หน่วยต่อมิลลิลิตร แบคทีเรียชนิด coliform ไม่เกิน 3 หน่วยต่อ 100 มิลลิลิตร

เหล้ามีคุณสมบัติร้อนแรง รสหวานเผ็ด มีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ขับความเย็น สลายลม ดับกลิ่นและรส นอกจากนี้เรายังช่วยให้สารอินทรีย์บางชนิดแตกตัวและละลายน้ำได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เราสามารถจับตัวกับแมกนีเซียมคลอไรด์หรือแคลเซียมคลอไรด์ในพืชเกิดเป็นผลึกของสารประกอบ MgCl2.6 CH3OH หรือ CaCl2.4 C2H5OH เป็นต้น ผลึกของสารประกอบแอลกอฮอล์เหล่านี้สามารถละลายได้ดีในน้ำ จึงช่วยเพิ่มการละลายของสารอนินทรีย์ดังกล่าว ตัวยาประเภทสัตว์วัตถุมักมีกลิ่นคาวสาบของ trimethylamine, aminovaleradehyde เมื่อนำมาเผ้าจื้อโดยใช้เหล้าเป็นฝู่เลี่ยว จะช่วยให้กลิ่นเหล่านี้หายไป นอกจากนี้เรายังมีส่วนประกอบประเภทเอสเธอร์ ซึ่งจะช่วยให้รสและกลิ่นของยาดีขึ้นโดยทั่วไปยาดองเหล้ามักเตรียมโดยใช้เหล้าขาวเป็นฝู่เลี่ยว  ส่วนการเผ้าจื้อมักใช้เหล้าเหลืองเป็นฝู่เลี่ยว    

1.2 น้ำส้ม (ชู่) น้ำส้มที่ใช้เป็นฝู่เลี่ยว  มาร์คเตรียมจากการหมักกลั่นข้าวเจ้า ข้าวสาลี เข้าเกาเหลียง หรือหัวเหล้า น้ำส้มมีองค์ประกอบทางเคมี คือ กรดน้ำส้ม(acetic Acid) ปริมาณร้อยละ 4-6 succinic Acid, oxalic Acid, sobic Acid วิตามินและเถ้าในตำราเปิ่นเฉ่ากังมู่ ได้บันทึกว่าน้ำส้มที่ใช้ในการเผ้าจื้อต้องเตรียมจากการหมักข้าวนาน 2-3 ปีและไม่ใช้หัวน้ำส้มที่ได้จากการสังเคราะห์ น้ำส้มที่หมักเป็นเวลานานเรียกว่า เฉินชู่ หรือน้ำส้มค้างปีเป็นน้ำส้มที่มีคุณภาพดีที่สุด

น้ำส้มมีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่ขุ่นหรือไม่ตกตะกอนแขวนลอยหรือตกตะกอน ไม่มีเชื้อราและไม่มีกลิ่นผิดปกติ หากนำมาตรวจวิเคราะห์จะไม่มีกรดอิสระ(Free Acid)  ห้ามใช้น้ำส้มที่ทำจาก sulfuric Acid nitric Acid หรือ hydrochloric Acid  และน้ำส้มที่ใช้ต้องมีปริมาณกรดรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.5  น้ำส้มมีรสเปรี้ยว ขม และคุณสมบัติอุ่น เป็นตัวนำพาตัวยาเข้าสู่ตับได้ดี มีสรรพคุณช่วยปรับการไหลเวียนของชี่ภายในร่างกาย ห้ามเลือดช่วยให้น้ำภายในร่างกายไหลเวียนดี ลดบวม บรรเทาพิษ สลายตุ่มก้อน บรรเทาปวด ช่วยปรับกลิ่นและรสของตัวยาให้ดีขึ้น กรดน้ำส้มจะทำปฏิกิริยากับแอลคาลอยด์ได้เกลือของแอลคาลอยด์ ช่วยให้ตัวยาที่เป็นแอลคาลอยด์ละลายน้ำได้ดีเมื่อนำมาต้มจะทำให้ตัวยาละลายออกมาในน้ำได้เร็ว ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการรักษา น้ำส้มสามารถลดพิษของตัวยาต้าจี้ และเหยียนฮวาได้ นอกจากมีน้ำส้มยังใช้ปรับแต่งกลิ่นและรสดับกลิ่นคาว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และป้องกันการสูญเสียได้

การเผ้าจื้อโดยใช้น้ำส้มเป็นฝู่เลี่ยว  มักใช้กับการผัดการนึ่งการต้มตัวยาที่ใช้น้ำส้มเป็นฝู่เลี่ยว  ในการเผ้าจื้อ เช่น กัน ส้ย ซังลู่ ต้าจี๋ เหยียนฮวา ขมิ้นอ้อย แห้วหมู ไฉหู เป็นต้น

1.3 น้ำผึ้ง (เฟิงหมี่) น้ำผึ้งมีมากมายหลายชนิดตามชนิดของดอกไม้ แต่น้ำผึ้งที่มีสรรพคุณดีคือน้ำผึ้งที่ได้จากดอกพุทราจีน ชานไป๋ และลิ้นจี่ หาได้จากเฉียวหมี่ หรือข้าวสาลีบัควีท(buckwheat) จะมีสีเข้มและมีกลิ่นคุณภาพจะไม่ดีเนื่องจากความแตกต่างของชนิดน้ำผึ้งแหล่งที่มาและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจึงทำให้องค์ประกอบทางเคมีของน้ำผึ้งแต่ละชนิดแตกต่างกันมาก องค์ประกอบทางเคมีหลักของน้ำผึ้ง ได้แก่ น้ำตาลฟรุกโตส(fructose) น้ำตาลกลูโคส(glucose) มีปริมาณร้อยละ 70 และน้ำตาลซูโครส(sucrose) น้ำตาลนม แร่ธาตุ ขี้ผึ้ง เอนไซม์ กรดอะมิโน วิตามิน ในปริมาณเล็กน้อย น้ำผึ้งมีสีและกลิ่นตามชนิดของดอกไม้ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ ดังนั้นหากน้ำผึ้งที่ได้จากดอกไม้ที่มีพิษน้ำผึ้งชนิดนั้นจะนำมาใช้ไม่ได้ เช่น ดอกกุหลาบพันปี ดอกโหราเดือยไก่ ดอกยี่โถ ซานไห่ถังฮวา เหลย์กงเถิงฮวา เป็นต้น หากรับประทานจะทำให้เกิดอาการง่วงซึม คลื่นไส้ ปวดท้องหรือหากอาการรุนแรงจะทำให้เสียชีวิตได้ 

น้ำผึ้งเป็นของเหลวค่อนข้างใสเป็นประกายมีความหนึ่งมีกลิ่นหอมอ่อนๆรสหวานจัดหาเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสจะมีความถ่วงจำเพาะ 1.349 ขึ้นไปไม่ตกตะกอนไม่มีสารเด๊กซ์ทริน(dextrin) มีปริมาณความชื้นไม่เกินร้อยละ 25 น้ำตาลซูโครสไม่เกินร้อยละ 8 หากมีปริมาณเกินเกณฑ์ที่กำหนดแสดงว่าน้ำผึ้งนั้นได้จากการใช้น้ำตาลทรายในการเลี้ยงผึ้งหรือมีการใส่น้ำตาลซูโครสผสมลงไปในน้ำผึ้งนอกจากนี้ปริมาณ reducing sugar ซิ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 64 น้ำผึ้งมีคุณสมบัติเย็น สรรพคุณระบายความร้อน ลดไข้ หากนำมาต้มให้สุกจะมีคุณสมบัติมีสรรพคุณบำรุงส่วนกลางของร่างกาย รสหวานกลมกล่อม สามารถขจัดพิษและให้ความชุ่มชื้น บรรเทาปวด มีกลิ่นหอมหวานช่วยปรับกลิ่นและรสช่วยประสานตัวยาในตำรับให้เข้ากัน เหมาะสำหรับรักษาโรคที่เกิดกับอวัยวะต่างๆ

การเผ้าจื้อโดยใช้น้ำผึ้งเป็นฝู่เลี่ยว เตรียมโดยนำน้ำผึ้งบริสุทธิ์มาเจือด้วยน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ต้มจนเดือดแล้วกรองสิ่งเจือปนอออก จะได้ของเหลวค่อนข้างหนืดเล็กน้อย ใส่ตัวยาที่สะอาดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้สักครู่เพื่อให้น้ำผึ้งซึมเข้าไปในตัวยา จากนั้นนำไปผัดในภาชนะที่เหมาะสมโดยใช้ไฟอ่อนๆ ผัดกระทั้งจนเป็นสีเหลืองเข้มและไม่เหนียวติดมือ นำออกจากเดา แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ตัวยาที่ผัดด้วยน้ำผึ้งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการรักษาดีขึ้น ช่วยปรับฤทธิ์ของยาให้สุขุม ช่วยดับกลิ่นและรสได้ ในฤดูร้อนน้ำผึ้งจะเดิดสภาพเหมือนถูกหมัก มักฟูล้นทะลักทำให้ฝาปิดระเบิดออกได้ ซึ่งสามารถป้องกันโดยเก็บรักษาไวที่อุณหภูมิต่ำ หรือโดยใช้น้ำขิงเล็กน้อยใส่ลงไปในน้ำผึ้งจะดูดซับกลิ่น ไม่ควรเก็บน้ำผึ้งในภาชนะที่เป็นโลหะ โดยเฉพาะสังกะสีเพราะอาจก่อให้เกิดพิษได้ ตัวยาที่ใช้น้ำผึ้งเป็นฝู่เลี่ยว หม่าโตวหลิง ไป๋เฉียน ใบบี่แป้ ไปเหอ กิ่งอบเชยจีน เป็นต้น

1.4 น้ำเกลือ (สือเอี๋ยนสุ่ย) เกลือประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์และแมกนีเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียมซัลเฟต แคลเซียมซัลเฟตในปริมาณเล็กน้อยเรือเป็นผลึกสีขาว รสเค็มไม่ขมแต่ฝาดเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น มีปริมาณโซเดียมคลอไรด์มากกว่าร้อยละ 96 เกลือซัลเฟตไม่เกินร้อยละ 2 แมกนีเซียมไม่เกินร้อยละ 2 แบเรียมไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ฟลูออไรด์ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและตะกั่วไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

เกลือมีรสเค็ม คุณสมบัติเย็น มีสรรพคุณเสริมเอ็นและกระดูกให้แข็งแร งช่วยสลายตุ่มก้อนให้อ่อนลง ระบายความร้อน ช่วยให้เลือดเย็น ขจัดพิษ ป้องกันการบูดเน่า ช่วยปรุงรสให้ดีขึ้น การเผ้าจื้อด้วยน้ำเกลือจะทำให้คุณสมบัติของตัวยาเปลี่ยนไปโดยจะเพิ่มฤทธิ์ของตัวยาให้ดีขึ้น ตัวยาที่ใช้น้ำเกลือเป็นฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อ เช่น ตู้ จ้ง ปาจี่เทียน ผักชีล้อม(เสี่ยวหุยเซียง) เมล็ดส้ม(จหวีเหอ) เมล็ดผักกาดน้ำ(เชอเฉียนจื่อ) เร่ว(ซาเหริน) เมล็ดฝอยทอง(ทู่ซือจื่อ)

1.5 น้ำขิงสด (เซิงเจียงจือ) โดยทั่วไปจะใช้น้ำคั้นขิงสดหรือหากเป็นขิงแห้งให้ใช้ขิงแห้งบดนำมาต้มน้ำแล้วกรองเอากากออกจะได้น้ำขิงสีเหลืองอ่อน น้ำขิงมีกลิ่นหอม มีน้ำมันหอมระเหยสาร gingerols กรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรตและน้ำมันชัน

น้ำขิงสดมีรสเผ็ด คุณสมบัติอุ่น มีฤทธิ์กระจายลงไปตามผิวหนัง ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับรักษาโรคที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ไข้หวัดที่เกิดจากการกระทบลมร้อนหรือลมเย็นในระยะแรกของโรค และมีฤทธิ์สลายความเย็นอุ่นส่วนกลางของร่างกาย มีสรรพคุณระงับอาเจียน ขับเสมหะ ถอนพิษ การใช้น้ำขิงเป็นฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อสามารถลดคุณสมบัติเย็นและลดพิษของตัวยาได้ ตัวยาที่ใช้น้ำขิงในการเผ้าจื้อ เช่น โฮ่วผอ เปลือกชั้นกลางของลำต้นไผ่ดำ(จู้หรู) เฉาก๊วย(เฉากั่ว) ปั้นเซี่ย หวงเหลียน เป็นต้น

1.6 น้ำชะเอมเทศ (กันเฉ่าจือ) เตรียมโดยนำชะเอมเทศไปต้มน้ำ แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำต้ม น้ำชะเอมเทศมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม องค์ประกอบสำคัญของน้ำชะเอมเทศคือ สาร glycyrrhizin, reducing sugar คาร์โบไฮเดรตและสารจำพวกชัน

ชะเอมเทศมีรสหวาน คุณสมบัติสุขุม มีฤทธิ์บำรุงม้าม บำรุงชี่ ระบายความร้อน ขจัดพิษ ขับเสมหะ แก้ไอ บรรเทาอาการปวดชนิดเฉียบพลัน ในคัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิง ได้บันทึกไว้ว่า การเผ้าจื้อด้วยน้ำชะเอมเทศจะช่วยปรับฤทธิ์ของตัวยาให้สุขุมและลดพิษของตัวยาด้วย มีรายงานวิจัยยืนยันว่าสามารถลดพิษได้จริงทั้งพิษจากยาและอาหารพิษที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญในร่างกายที่ผิดปกติและพิษจากแบคทีเรีย นอกจากนี้ชะเอมเทศยังมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนคอร์ติซอล(cortisome) ช่วยให้ตับทำหน้าที่กำจัดพิษได้ดีขึ้น ตัวยาที่ใช้น้ำชะเอมเทศเป็นฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อจะละลายน้ำได้ดี ดังนั้นจึงมักใช้น้ำชะเอมเทศมาเป็นฝู่เลี่ยว โดยทำหน้าที่เป็นตัวยานำพาและปรับประสานตัวยาทั้งหมดในตำรับให้เข้ากัน ตัวยาที่ใช้น้ำชะเอมเทศในการเผ้าจื้อ เช่น หยวนจื้อ ปั้นเซี่ย หวูจูยหวี เป็นต้น

1.7 น้ำถั่วดำ (เฮย์โต้วจือ) เตรียมโดยต้มถั่วดำด้วยน้ำ แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำต้มมาใช้และทิ้งกาก น้ำถั่วดำประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน วิตามินเ ม็ดสีและคาร์โบไฮเดรต

ถั่วดำมีรสหวาน คุณสมบัติสุขุม มีฤทธิ์ช่วยให้เลือดไหลเวียน ขับปัสสาวะ ขจัดลม ขจัดพิษ บำรุงตับไต การใช้น้ำถั่วดำเป็นฝูเลี่ยวในการเผ้าจื้อจะช่วยลดพิษหรือผลข้างเคียงของตัวยาได้ ตัวยาที่มีที่ใช้ถั่วดำในการเผ้าจื้อ เช่น เหอโซ่วอู เป็นต้น

1.8 น้ำซาวข้าว (หมี่กันสุ่ย) เตรียมโดยใช้น้ำที่ได้จากการซาวข้าวครั้งที่ 2 มีองค์ประกอบประเภทคาร์โบไฮเดรตและวิตามินเนื่องจากน้ำซาวข้าวบูดง่ายจึงมักเตรียมและใช้ทันที

น้ำซาวข้าวมีรสหวาน คุณสมบัติเย็ นไม่มีพิษ มีฤทธิ์บำรุงชี่ ลดอาการกระวนกระวาย บรรเทาอาการกระหายน้ำ ขจัดพิษ น้ำซาวข้าวสามารถดูดซับไขมันได้ดีและลดความเผ็ดของตัวยาได้ จึงมักใช้กับตัวยาที่มีไขมันมากและตัวยาที่มีรสเผ็ดช่วยเพิ่มฤทธิ์บำรุงม้ามและปรับธาตุ ตัวยาที่ใช้น้ำซาวข้าวในการเผ้าจื้อ เช่น โกฐเขมา(ชังจู๋) ไป๋จู๋ เนื่องจากการหาน้ำซาวข้าวในปริมาณมากๆจะทำได้ยากจึงอาจเตรียมโดยใช้แป้งข้าวเจ้า 2 กิโลกรัมละลายในน้ำ 100 กิโลกรัม

1.9 น้ำดี (ต่านจือ) ใช้ยังน้ำดีของวัว หมู แพะหรือแกะ น้ำดีมีสีเขียวเข้ม ค่อนข้างซ้ายเหนียวเล็กน้อยและกลิ่นออกคาว น้ำดีมีองค์ประกอบของ sodium cholate, bile pigment, mucoprotein,ไขมันและเกลืออนินทรีย์

น้ำดีมีรสขม คุณสมบัติเย็นจัด มีฤทธิ์บำรุงสายตา ระบายความร้อนที่ตับ ขับน้ำดี ช่วยให้การขับถ่ายของลำไส้ดีขึ้น ขจัดพิษ ลดบว มช่วยให้ความชุ่มชื้น โดยมากใช้น้ำดีในการเผ้าจื้อต่านหนานซิง

1.10 น้ำมันงา (หมาโหยว) เป็นน้ำมันที่ได้จากการนำเมล็ดงาแก่มาคั้นบีบด้วยความเย็นหรือความร้อน น้ำมันงามีส่วนประกอบของสาร linoleic acid, glycerride และ sesamin

น้ำมันงามีรสหวานคุณสมบัติเย็นเล็กน้อยสรรพคุณขจัดความร้อนทำให้ชุ่มชื้นช่วยสร้างเนื้อเยื่อเนื่องจากน้ำมันงามีจุดเดือดสูงจึงมักใช้เป็นฝู่เลียวในการเผ้าจื้อตัวยาที่มีเปลือกแข็งมากหรือมีพิษเพื่อทำให้ตัวยากรอบและลดพิษของตัวยานั้นๆ ห้ามใช้น้ำมันงาที่มีสิ่งอื่นผสมหรือมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ตัวยาที่ใช้น้ำมันงาในการเผ้าจื้อ เช่น แสลงใจ(หม่าเฉียนจื่อ) ไส้เดือนดิน(ตี้หลง) เป็นต้น

นอกจากฝู่เลี่ยวที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีฝู่เลี่ยวอื่นๆที่นำมาใช ้ในการเผ้าจื้อ เช่น น้ำค้ั้นหวูจูยหวี นำ้คั้นหัวผักกาด (หลัวปู่จือ) ไขแกะ (หยางจือโหยว) น้ำด่าง (สือฮุยสุ่ย) เป็นต้น

2. ฝู่เลี่ยวชนิดของแข็ง

ฝู่เลี่ยว ชนิดของแข็ง มีดังนี้

2.1 ผงหอยกาบ (เก๋อเฟิน) รสเค็มคุณสมบัติเย็น มีฤทธิ์ระบายความร้อน สลายความชื้น ขับเสมหะ ช่วยทำให้ตุ่มก้อนอ่อนตัว เมื่อนำมาเป็นฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อ จะช่วยขจัดกลิ่นคาวของตัวยาและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาส่วนมากนำมาเตรียมอาเจียว(ทั่งจื้ออาเจียว)

2.2 ผงหินลื่น (หัวสือเฟิ่น) เป็นแร่ชนิดหนึ่งประกอบด้วย Mg3(Si4O10)(OH)2 หรือ 3MgO.4SiO2.H2O มีลักษณะเป็นผงสีขาวละเอียดลื่นมือ มีรสหวาน คุณสมบัติเย็น มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดไข้ตัวร้อนจากหวัดแดด ส่วนมากนำมาใช้เป็นฉนวนเพื่อให้ความร้อนกระจายสม่ำเสมอเช่นนำมาผัดกับขนมเม่น กระเพาะปลา เป็นต้น

2.3 ทราย (เหอซา) ใช้ทรายจากแม่น้ำมาล้างให้สะอาดจนกระทั่งไม่มีสิ่งเจือปนตากแดดให้แห้งสนิทส่วนมากนำมาใช้เป็นฝู่เลี่ยวในการผัดจนกระทั่งตัวยาร้อน เพื่อให้ตัวยาที่มีเปลือกแข็งกรอบสะดวกต่อการบดนอกจากนี้ยังช่วยลดพิษ เช่น เปลือกตัวนิ่ม(ชวนซานเจี่ย) กู่ชุ่ยปู่ แสลงใจ(หม่าเฉียนจื่อ) เป็นต้น

2.4 ชาด (จูซา) ก่อนนำชาดมาใช้ต้องนำมาบดร่วมกับการใช้น้ำโดยวิธีหมุนว่อน ชาดมีส่วนประกอบของ เมอร์คิวริกซัลไฟด์สีแดง มีรสหวานคุณสมบัติเย็นเล็กน้อยมีฤทธิ์ช่วยสงบประสาทและถอนพิษ ช่วยรักษาอาการใจสั่นโรคนอนไม่หลับโรคลมชักแผลในปากคอบวมตัวยาที่ใช้ชาติในการเผ้าจื้อ เช่น ไม้ตรง ผงรากสน(ฝูหลิง) โป่งรากส่วนติดเนื้อไม้(ฝูเสิน) หย่วนจื้อ เป็นต้น

2.5 ดิน (ถู่) ที่นิยมใช้ในการเผ้าจื้อ ฝูหลงกาน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ดินถนำ(ดินสีเหลือง) ดินฝูหลงกาน คือดินที่อยู่ในเตาที่ถูกเผาไฟเป็นระยะเวลานานมี สีน้ำตาลดำ ส่วนประกอบที่สำคัญคือ เกลือซิลิเกต เกลือแคลเซียม ฝูหลงกานมีรสเผ็ด คุณสมบัติอุ่น เป็นด่างอ่อนมีฤทธิ์ ให้ความอบอุ่นกับส่วนกลางของร่างกาย ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานดีขึ้น ใช้ห้ามเลือด ระงับอาเจียน บรรเทาอาการท้องเสีย การใช้ดินเป็นฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อจะช่วยลดอาการไซร้ท้องและช่วยให้ประสิทธิผลการรักษาดีขึ้น

2.6 สารส้ม (ไป๋ฝาน) หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า หมิงฝาน สารส้มเป็นก้อนผลึกสีขาวขุ่น รูปร่างไม่แน่นอนไม่ มีสีค่อนข้างใสเหมือนกระจก แข็งเปราะแตกง่าย ละลายน้ำได้ดี องค์ประกอบทางเคมีคือเกลือซัลเฟตของโพแทสเซียมและอลูมิเนียมที่มีน้ำผลึก [KAl(So4)2.12H2O]

สารส้มมีรสฝาดเปรี้ยวเล็กน้อยคุณสมบัติเย็นมีฤทธิ์ขจัดพิษขับเสมหะฆ่าพยาธิป้องกันการบูดเน่าการใช้สารส้มเป็นฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อ สามารถป้องกันการเน่าเปื่อยลดพิษและเพิ่มประสิทธิภาพของยา

2.7 ข้าวเจ้า (เต้าหมี่) มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันและแร่ธาตุและวิตามินบีในปริมาณเล็กน้อย กรดอะมิโนหลายชนิด และน้ำตาล

ข้าวเจ้ามีรสชุ่มคอ คุณสมบัติสุขุม มีฤทธิ์บำรุงร่างกายเพิ่มภูมิต้านทานบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการกระหายน้ำ บรรเทาบิด เมื่อนำข้าวเจ้ามาใช้เป็นฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อ จะช่วยเพิ่มฤทธิ์ของตัวยาให้แรงขึ้นลดอาการใส่ท้องและลดพิษตัวยาที่มักใช้ข้าวจ้าวในการเผ้าจื้อ เช่น ตังเชิน ปันหมา เป็นต้น

2.8 รำข้าวสาลี (ไม่ฟู) รำข้าวสาลีเป็นส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดข้าวสาลีมีสีน้ำตาลเหลืองมีส่วนประกอบที่สำคัญคือคาร์โบไฮเดรตโปรตีนและวิตามิน

รำข้าวสาลีมีรสชุ่มคอ จืด คุณสมบัติสุขุมวิทปรับสมดุลส่วนกลางของร่างกายบำรุงม้ามการใช้ข้าวสาลีเป็นฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อจะช่วยปรับผสานคุณสมบัติแห้งของตัวยาเพิ่มประสิทธิผลการรักษาช่วยขจัดกลิ่นและรสอันไม่พึงประสงค์ของตัวยาและทำให้สีของตัวยามีความสม่ำเสมอแต่ไม่สามารถใช้รำข้าวสาลีเป็นฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อโดยวิธีปิ้ง ตัวยาที่นิยมใช้รำข้าวสาลีในการเผ้าจื้อ เช่น จื่อเขอ จื่อสือ โกฐเขมา(ชังจู๋)เป็นต้น

2.9 เต้าหู้ (โต้วฝู่) เต้าหู้เป็นของกึ่งแข็งสีขาวนม ประกอบด้วยโปรตีน วิตามิน และคาร์โบไฮเดรต

เต้าหู้มีรสชุ่มคอ คุณสมบัติเย็น มีฤทธิ์บำรุงชี่ ปรับส่วนกลางของร่างกายให้สมดุล เพิ่มสารน้ำขจัดความแห้ง ระบายความร้อนขจัดพิษ เต้าหู้มีฤทธิ์แรงในการตกตะกอนและดูดซับ เมื่อนำมาใช้เป็นฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อ จะลดพิษของยาและขจัดสิ่งแปลกปลอม ตัวยาที่นิยมใช้เต้าหู้ในการเผ้าจื้อ เช่น มะเค็ดหรือมะลินรก(เถิงหวง) ไข่มุก(เจินจู) กำมะถัน(หลิวหวง) เป็นต้น




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง